เหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นกับ George Floyd มีสิ่งหนึ่งในบทเรียนเรื่องนี้ทำให้ย้อนกลับมามองได้ว่า “ถึงเวลาเปลี่ยนหรือยังในเรื่อง ระบบการชำระเงิน”
เพราะด้วยมูลเหตุของการแจ้งความกับตำรวจคือ การใช้ธนบัตรปลอม ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริง ซึ่งผู้เขียนจะไม่ขอก้าวล่วงในเรื่องดังกล่าวนี้
แต่เมื่อมาพิจารณาดูเรื่องนี้แล้ว ทำให้ตระหนักได้ว่า เหตุการณ์นี้อาจจะไม่กลายเป็นโศกนาฎกรรม ถ้าเพียงแต่การใช้วิธีชำระเงินเป็นดิจิตอลแทนการใช้
พันธบัตร ซึ่ง (1)ทั้งเสี่ยงกับเชื้อโรคที่ปนเปื้อนเพราะถูกส่งต่อมาในหลายๆมือ และ (2) จะไม่มีคำว่าแบงค์ปลอม หรือ ธนบัตรปลอม ให้เกิดความระแวงระหว่าง
ผู้ซื้อและผู้ขายอีกต่อไป
ในขณะที่จีนได้เริ่มเปิดทดลองใช้ระบบดิจิตอลหยวนเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และหลายประเทศเกือบจะเรียกได้ว่า ทั่วทั้งโลกกำลังหันมาศึกษาและพัฒนาระบบ Digital currency ของตนเองอยู่นั้น ซึ่งไทยเราก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่กำลังผลักดันให้เกิด Digital currency ที่ริเริ่มโดยธนาคารแห่งประเทศ หรือที่เรียกว่า โครงการอินทนนท์
อ่านเพิ่มเติม digital currency ของญี่ปุ่น J-Coin
โดยภาพลักษณ์ของญี่ปุ่นที่ประเทศอื่นๆมองให้เป็นหนึ่งในประเทศของโลกแห่งเทคโนโลยี แต่รู้หรือไม่ว่า ในด้านการเงินการธนาคารนั้น ถ้าเทียบกันแล้ว ยังถิอญี่ปุ่นตามหลังประเทศไทยอยู่พอสมควร ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา คนไทยหันมาใช้บริการการเงินโดยการโอนเงินผ่านแอพธนาคารไปมาระหว่างกัน โดยฟรีค่าธรรมเนียม
การโอนเงินในประเทศญี่ปุ่น ยังไม่มีการโอนผ่านแอพธนาคาร ต้องไปโอนที่ตู้เอทีเอ็มหรือที่เคาน์เตอร์ธนาคารเท่านั้น นอกจากนี้ในการกดเงินสดจากตู้เอทีเอ็มญี่ปุ่น ก็ยังมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินอยู่ครั้งละประมาณ 200 yen
นี่เป็นอีกด้านหนึ่งที่เราอาจจะนึกไม่ถึงว่า คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงอิงอยู่กับระบบเงินสด เสียมากกว่า ทั้งๆที่ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีบริการ Digital payment เกิดขึ้นมากมายหลายค่าย ทั้ง Paypay, Mercari pay, Line pay, Rakuten pay เป็นต้น สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ตั้งเป้าให้สังคมญี่ปุ่นลดการใช้เงินสด และหันมาใช้ Cashless มากขึ้น โดยนายกชินโซะ อาเบะ ตั้งเป้าหมายไว้ถึง 40%ของประชากร เป็น cashless society ภายในปี 2025
เมื่อเทียบกับประเทศไทย ที่มีการใช้ cashless/ digital payment เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด อยู่ที่ 57% ของประชากร
ประเทศญี่ปุ่นยังมีการใช้ cashless/ digital payment อยู่เพียงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรเท่านั้น
หากมองตามความเป็นจริงของสภาพสังคมที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งตัวเลขอ้างอิงจาก https://asia.nikkei.com/Economy/Japan-crosses-new-aging-milestone-with-20-now-70-or-older ที่ลงบทความในปี 2018 ระบุว่า ผู้สูงอายุในญี่ปุ่นที่อายุเกิน 70 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นมีมากถึงร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือคิดเป็น 1 ใน 5 คน จะเป็นคนชราที่อายุเกิน 70 ปี
และอีกสาเหตุนึงที่ถึงแม้ว่าจะมีระบบ Digital payment ออกมารองรับมากมาย แต่ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังรู้สึกกังวลกกับการใช้ Digital payment อยู่ค่อนข้างมาก ทั้งในแง่ของการความปลอดภัยของข้อมูลและการควบคุมการใช้จ่ายส่วนบุคคล
และนี่เป็นโจทย์ที่ต้องรัฐบาลญี่ปุ่นต้องแก้ให้ออก หากอยากผลักดันในญี่ปุ่นเป็น cashless society ภายในปี 2025 หรือในอีกห้าปีข้างหน้านี้
ขอบคุณที่มาข้อมูล
https://asia.nikkei.com/Economy/Japan-crosses-new-aging-milestone-with-20-now-70-or-older
https://www.japan.travel/tokyo-and-beyond-2020/en/trip-ideas/withdrawing-cash-and-paying-cashless-as-a-tourist-in-tokyo/#:~:text=Japan%20towards%20a%20cashless%20society&text=Japan’s%20government%20is%20pushing%20for,as%20well%20as%20Asian%20countries.
Leave a Reply