ภาษาญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในภาษาที่สาม ที่หลายๆคนเลือกเรียน
บ้างเพื่อใช้ในการทำงาน
บ้างเพราะความชื่นชอบมังกะ หรือ อนิเมะ ต่างๆก็ดี
วันนี้จะมาแชร์เคล็ดลับ สอบให้ผ่าน ไม่ยากอย่างที่คิด และเตรียมตัวอย่างไรให้สอบ N3 (Japanese Language Proficiency Test – Level 3)
บอกได้เลยว่า ให้ผ่านฉลุยแบบไม่ต้องสอบซ้ำ และไม่ง้อโรงเรียนกวดวิชาใดๆ
สำหรับข้อสอบฉบับใหม่ ประจำปี 2019 ธันวาคม
ก่อนอื่นมาความรู้จักระดับของ N3
ที่มา https://www.jlpt.jp/
สรุปสั้นๆคือ
ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ประจำวันได้ในระดับที่ดี
โดยข้อสอบแบ่งเป็น การอ่าน และ การฟัง
การอ่าน
หลักๆคือ สามารถอ่านเนื้อหาหรือหัวข้อเรื่องในชีวิตประจำวันได้ ไปจนถึงสามารถเข้าใจประเด็นหลักๆของเนื้อหาได้
การฟัง
สามารถฟังบทสนทนาในระดับความเร็วการสื่อสารใกล้เคียงกับผู้สนทนาภาษาแม่ และสามารถจับจุดว่าบทสนทนานั้นเกี่ยวกับอะไรบ้าง
คำถามคือ หากมีเวลาเตรียมตัวเพียง 1 เดือน ควรจะเลือกอ่านหนังสืออะไร และเคล็ดลับอะไรที่ผู้เขียนสอบผ่านได้ในครั้งเดียว
หนังสือที่แนะนำคือ หนังสือที่จัดทำโดย สสท ในความร่วมมือของ Japan foundation เพราะเป็นองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการสอบโดยตรง
ผู้เขียนใช้หนังสือเพียงสองเล่ม เพื่อเตรียมสอบ
1. Grammer ไวยากรณ์
2. Kanji คันจิ
เคล็ดไม่ลับ อ่านอย่างไร เพื่อสอบให้ผ่าน ในเวลาเพียง 1 เดือน
-
- วิธีการอ่านของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป สำหรับผู้เขียนใช้เวลาอ่านไวยากรณ์และจำคำศัพท์ไปพร้อม โดยอ่านไวยากรณ์ทุกๆวันตลอดหนึ่งเดือน วันละ 3-4 บท และ อ่านคันจิสำหรับหนึ่งสัปดาห์ จบในทุกๆวัน
- พยายามจับประเด็นไวยากรณ์ให้ได้มากที่สุด
- ไม่จำเป็นว่าต้องจำทุกๆไวยากรณ์ได้หมด แต่ควรจะเข้าใจมากกว่า เช่น เมื่อเห็นรูปไวยากรณ์นี้ น่าจะหมายถึงประมาณไหน
- คันจิ ไม่จำเป็นต้องเขียนได้ แต่ต้องจำคู่คำศัพท์คันจิในระดับชีวิตประจำได้เยอะพอสมควร
- คำศัพท์ ในระดับชีวิตประจำวัน ต้องรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- ฝึกทำข้อสอบและจับเวลาเสมือนสอบจริง โดยสามารถดาวน์โหลดตัวอย่างข้อสอบเก่าได้ที่ https://www.jlpt.jp/e/samples/sample09.html
- หนึ่งวันก่อนสอบ ไม่ควรจะอ่านหนังสือแล้ว เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายมากที่สุด
ข้อแนะนำในการทำข้อสอบ
-
- ก่อนเข้าห้องสอบ ควรทำสมองให้ปลอดโปร่ง ไม่ควรอ่านหนังสือ เพราะจะทำให้ความคิดยิ่งสับสน
- พาร์ทที่ยากและน่าจะใช้เวลานาน และหรือทำข้อสอบไม่ทันที่สุด คือ การอ่าน ซึ่งจะยกมาเป็นบทความและค่อนข้างยาว ดังนั้น แนะนำว่า ให้ทำข้อสอบการอ่านบทความ ก่อน และค่อยไปข้อสอบไวยากรณ์
- พาร์ทฟัง ข้อแนะนำคือ หากเป็นไปได้ ฝึกการฟังในชีวิตประจำให้มากที่สุด และพยายามมีสมาธิให้มากที่สุด หากสมาธิหลุดกระเจิงเมือใด พาร์ทฟังนี่จะทำได้ค่อนข้างยาก เพราะมีข้อสอบส่วนที่ไม่มีคำถามและไม่มีคำตอบให้ดู ต้องฟังเรื่องและฟังตัวเลือกคำตอบเองทั้งหมด
- และที่สำคัญคือ พาร์ทฟัง หากฟังไม่ทันแล้วจะข้อฟังซ้ำ หรือกลับมาอ่านซ้ำ เหมือนข้อสอบการอ่านนั้นไม่สามารถทำได้
Leave a Reply