ที่ญี่ปุ่น ทิ้งดิน ไม่ได้?

ช่วงนีที่ญี่ปุ่นเริ่มเข้าหน้าร้อน ก็นึกอยากจะลองปลูกพืชผักสวนครัวที่คอนโดดู จะได้มีผักสวนครัวไทยๆไว้สำหรับทำอาหาร เพราะนอกจากหาซื้อก็ยากแล้ว ยังแพงมากอีกด้วย

แต่ๆ พอได้รู้ว่า กฎระเบียบของเมืองชิบะ ว่าด้วยเรื่องการทิ้งขยะนั้น ไม่สามารถทิ้งดินที่ไม่ใช้แล้วได้ ก็แอบหงายเงิบเบาๆ ความฝันเล็กๆที่จะมีผักสวนครัวเล็กๆ เวลาทำกับข้าวก็ไปเด็ดพริก เด็ดกะเพรามาใช้ได้เลย ไม่ต้องใช้พริก ผักแช่แข็ง นั้น ก็ต้องกลับมาทบทวนให้ถี่ถ้วนอีกที  ไม่ใช่ว่าปลูกผักไม่ได้ เพียงแต่ต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการเวลาทิ้งขยะด้วย

 

พอมาอยู่ต่างประเทศที่มีกฎระเบียบเรื่องการจัดการขยะเคร่งครัดแล้วนั้น ทำให้การตัดสินใจซื้อของต่างๆต้องคิดทบทวนหลายรอบ

ทั้งเรื่องขนาด เพราะขนาดก็มีผลกับการทิ้งขยะด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นของชิ้นใหญ่ จะไม่สามารถทิ้งเฉยๆได้ ต้องลงทะเบียนขอทิ้งสิ่งของนั้นๆ และซื้อสติกเกอร์

สำหรับขยะชิ้นใหญ่ ราคาตั้งแต่ประมาณ ชิ้นละ 300 yen หรือ100 บาท เป็นต้นไป

 

สำหรับผู้ที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยวมีพื้นดินก็อาจจะปลูกได้ง่ายหน่อย แต่อย่างผู้เขียนเองอยู่เป็นคอนโด ถ้าอยากจะปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ระเบียงเล็กๆ

นอกจากหาวัสดุอุปกรณ์ปลูกแล้ว หากวันใดวันนึงอยากนึกเลิกปลูก หรืออยากเปลี่ยนดินใหม่ ก็ไม่สามารถนำดินเก่าทิ้งขยะได้

 

วิธีจัดการกับดินที่ไม่ใช้แล้ว

เมื่อกฎระเบียบของเมืองเป็นเช่นนี้ ก็ไม่ใช่ว่าจะปลูกพิชผักไม่ได้ ทีนี้ทางเมืองชิบะ ก็ได้ให้ข้อมูลกับผู้ที่มีดินและต้องการจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งไว้

  • อาจจะติดต่อร้านค้าที่รับซื้อต่อ 
  • หรือ บำรุงดินที่มีอยู่ เพื่อนำกลับมาปลูกต้นไม้ได้ต่อ 

 

เวลาที่ใช้กับการจัดการขยะ

จริงๆแล้ว เมื่อเป็นหัวข้อเรื่องการจัดการขยะนั้น ที่ญี่ปุ่นมีกฎระเบียบค่อนข้างชัดเจนมาก และแต่ละท้องที่จังหวัดจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกันไป

  • เช่น จังหวัดชิบะ ไม่สามารถทิ้งดินได้ แต่จังหวัดอื่นก็อาจจะทิ้งเป็นขยะ
  • ขยะอะไรบ้างทิ้งได้ ขยะอะไรบ้างที่ไม่สามารถทิ้งได้ ต้องติดต่อร้านหรือบริษัทที่จัดการโดยเฉพาะ

 

มองโดยหลักการแล้ว นี่เป็นเรื่องดีที่ทำให้ประชาชนอยู่ในระเบียบและมีกฎที่ชัดเจนในการแยกขยะให้ประชาชนปฏิบัติตามได้ง่าย

โดยจะออกเป็นเอกสารและแจกจ่ายให้ประชาชนมีไว้ในครัวเรือน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการทิ้งขยะนั้นๆ ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคู่มือ

หรือแม้แต่ในเว็บไซด์ของทางเมืองเองก็ได้ให้ข้อมูลไว้เช่นกัน

แต่พูดอีกมุมนึง ในแง่ของการปฏิบัติใช้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ผู้เขียนเองก็ชินกับการคัดแยก ล้างภาชนะ ต่างๆก่อนทิ้งเป็นขยะแล้วก็ตาม แต่ก็นั่นแหละ

ก็ต้องยอมแลกไปกับเวลาที่ใช้เรื่องขยะในแต่ละวันค่อนข้างมาก

 

อย่างเช่น ขวด plastic 1 ขวด อาจจะเป็นได้ทั้งขยะธรรมดา หรือพาสติกแยกทิ้ง PET จึงต้องดูรายละเอียดในฉลากข้างขวดให้ดีก่อนจัดการขยะ

วิธีจัดการขยะ จังหวัดชิบะ
Reference: https://www.city.chiba.jp/kankyo/junkan/shushugyomu/gaikokugogomidasiitiran.html

 

ชีวิตในกฎระเบียบนั้น เป็นเรื่องที่ดีและสมควรทำอย่างยิ่ง เพราะทำให้ส่วนรวมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เพียงแต่กฎระเบียบบางครั้งก็มีรายละเอียดที่จุกจิก

เยอะมาก จนบางครั้งก็แอบคิดถึงการใช้ชีวิตสบายๆง่ายๆแบบที่ไทยอยู่เหมือนกัน

 

อยากให้เกิดขึ้นกับเมืองไทย

แต่สุดท้ายแล้ว ในใจก็หวังลึกๆว่า ประเทศไทยเองจะมีการจัดการขยะที่เป็นระเบียบระบบชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามได้ง่าย

เมืองไทยเป็นประเทศที่ดี ไม่ว่าใครต่างก็ตกหลุมรักเมื่อได้มาเยือนประเทศไทย แต่จะยิ่งดีมากขึ้นไปอีก หากเมืองไทยไม่ว่าที่ไหนๆ ก็สะอาดสะอ้าน

ไม่มีขยะทิ้งตามท้องถนน

 

แม่สามีเล่าให้ฟังว่า ประเทศญี่ปุ่นเอง สมัยก่อนประชาชนก็ไม่ได้แยกขยะทิ้งแบบเช่นทุกวันนี้ แต่ประมาณเมื่อสักยี่สิบปีก่อน ประเทศญี่ปุ่นเริ่มจริงจัง

กับการแยกขยะ และได้ออกเป็นกฏระเบียบอย่างที่เห็น และกำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและปฏิบัติตามได้ง่าย

ไม่ใช่แค่เขียนง่ายๆว่า แยกขวดก่อนทิ้ง แต่เขียนรายละเอียดชัดเจนว่า ฝาทิ้งแบบไหน ฉลากต้องแกะยังไง ล้าง และบีบให้เล็กก่อนทิ้งนะ โดยสอดแทรกภาพในการเล่าเรื่องให้คนทุกวัยเข้าใจได้ง่าย นี่คือหัวใจสำคัญ

วิธีจัดการขยะ จังหวัดชิบะ
Reference: https://www.city.chiba.jp/kankyo/junkan/shushugyomu/gaikokugogomidasiitiran.html

 

และนี่ก็เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการใช้ชีวิตในต่างแดน และเป็นดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าสะอาด และผู้คนมีระเบียบวินัยมากที่สุดแห่งนึงของโลก “ญี่ปุ่น”

 

 

อ้างอิงข้อมูล

https://www.city.chiba.jp/kankyo/junkan/shushugyomu/syusyushinai.html


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

CAPTCHA


Share via
Copy link
Powered by Social Snap