ครั้งก่อนได้มีโอกาสเขียนบทความเกี่ยวกับโรบอทสู้โควิด จากหลายๆประเทศทั่วโลกกันไปแล้ว
โรบอท (Robot) สู้โควิด 19
ครั้งนี้ขยับเข้ามาใกล้ประเทศไทยหน่อย นั่นคือ ประเทศหนึ่งในเจ้าเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่น ก็มีโรบอท ที่ผลิตโดยบริษัท ZMP ผู้ผลิตสินค้าที่เน้นด้านเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์คือ การที่สามารถนำเหล่าเทคโนโลยีนี้มาใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน
ซึ่งจริงๆแล้ว โรบอทที่ว่านี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์โควิด แต่เมื่อมีโควิดเข้ามา จึงได้มีการประยุกต์และเพิ่มเติมฟังชันการใช้งานที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันโควิด นั่นก็คือ โรบอทสามารถฉีดพ้นน้ำยาฆ่าเชื้อไปในตัวด้วย
Robot 3 รุ่นซีรี่ย์ ประกอบไปด้วย
- PATORO
- DeliRo
- RakuRo
ซึ่งทั้งสามซี่รี่ย์ จะมีหน้าตาและขนาดที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน แต่ต่างกันในแง่ของฟังก์ชันการใช้งาน
PATORO
โรบอทรักษาความปลอดภัย และฆ่าเชื้อโรค
เดิมทีเป็นโรบอทที่เน้นเรื่องการรักษาความปลอดภัย ทั้งในและนอกอาคาร ทำให้เกิดความอุ่นใจว่ามีอีกคนคอยดูแล นึกภาพง่ายๆ คือ PATORO จะทำหน้าที่คล้าย รปภ.
โดยเฉพาะในยามค่ำคืน โดยใช้อินฟาเรดในการจับหาสิ่งผิดปกติ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในและนอกอาคาร และด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่ ความสูงอยู่ในระดับเอวมนุษย์นั้น ทำให้สามารถเข้าออกได้แม้แต่ในลิฟท์โดยสาร
และเมื่อมีการระบาดของโควิด19 เกิดขึ้น ทาง ZMP ยังได้เพิ่มฟังก์ชันการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเช้าไปในตัวด้วย ลองนึกภาพดู ในขณะที่ PATORO ออกตระเวนตรวจตราความเรียบร้อยและความปลอดภัย หากมีจุดเสี่ยงที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค อย่างปุ่มกดลิฟท์ เจ้า PATORO ก็จะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อให้ในตัว
DeliRo
Delivery Robot โรบอทเดลิเวอรี่
ทางฝั่งอังกฤษมี Starship robot หุ่นยนต์ส่งอาหาร ญี่ปุ่นก็มี DeliRo หุ่นยนต์ส่งอาหาร ซึ่งในช่วงโควิดแบบนี้ การใช้หุ่นยนต์ส่งอาหารแทนมนุษย์ ก็อาจจะช่วยคลายความกังวลเรื่องการติดเชื้อลงได้บ้าง ซึ่งเจ้า DeliRo นี้ สามารถบรรจุอาหารไว้ด้านในกล่องของหุ่นยนต์ไม่ต้องกังวลเรื่องปนเปื้อนกันเลยทีเดียว เมื่อได้รับคำสั่งให้ไปไปส่งอาหาร DeliRo สามารถเดินทางโดยใช้ระบบเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวรอบด้าน ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะชนหรือรบกวนผู้ที่เดินสัญจรบนทางเท้าแต่อย่างใด เพราะเซนเซอร์จะจับการเคลื่อนไหวได้ หากเข้าใกล้มนุษย์หรือสิ่งกีดขวาง DeliRo ก็จะสามารถหลบได้ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่เดินเท้าแต่อย่างใด
RakuRo
โรบอทอำนวยความสะดวก
เป็นอีกหนึ่งในโรบอทซีรีย์ ซึ่งเจ้าตัวนี้อาจจะเน้นไปที่การอำนวยความสะดวกสะดวกให้กับผู้ที่เคลื่อนไหวลำบาก เช่น ผู้สูงอายุ โดยเป็นหุ่นยนต์ที่มีเก้าอี้นั่ง (สำหรับหนึ่งที่นั่ง) และขับเคลื่อนอัตโนมัติแบบไร้คนขับ
ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ผู้เขียนมองว่า การผลิตโรบอท RakuRo ก็เพื่อตอบสนองต่อสภาพสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน และรวมถึงอนาคตที่จำนวนผู้สูงอายุมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บทความเกี่ยวกับโรบอท เพิ่มเติม
Haneda Innovation city แหล่งรวมเทคโนโลยีและวัฒนธรรมแห่งใหม่ของญี่ปุ่น
Reference: https://www.zmp.co.jp/en/products/lrb/patoro