มองญี่ปุ่น : User Friendly สินค้าญี่ปุ่นเป็นมิตรกับผู้ใช้

สิ่งนึงที่ผู้เขียนชื่นชอบเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น คือ สินค้าและสิ่งอำนวยความสะดวกในญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความสะดวกและความพึงพอใจที่ผู้ใช้จะได้รับเป็นหลัก หรือ User friendly สินค้าที่เป็นมิตรกับผู้กับใช้

ซึ่งถ้าจะให้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ เชื่อว่าจะมีสินค้า ของเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะกล่าวแทบไม่หมด แต่วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างนึงของสินค้า User freindly ที่ผู้เขียนใช้ประจำและรู้สึกประทับใจมาก นั่นคือ ครีมอาบน้ำชนิดรีฟิล (แบบเติมใส่ขวด) ของบิโอเร

 

User freindly 

ดูแค่ภาพ อาจจะไม่เข้าใจแล้วมันดี User freindly  เป็นมิตรกับผู้ใช้อย่างไร

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาเวลาเติมน้ำยาหรือครีมอาบน้ำใส่ขวด จากถุงชนิดเติม จะต้องคอยจับถุงเติมไว้ตลอด และปากถุงที่ตัด บางครั้งก็กว้างเกินไป

ไม่พอดีกับขนาดปากขวด ทำให้เวลาเติม บางครั้งทุลักทุเลพอสมควร หกเลอะเปื้อนข้างขวด เพราะเล็งผิด ปากถุงไม่ตรงกับปากขวดบ้าง สาระพัดเหล่านี้ เกิดขึ้นกับหลายคนแน่ๆ

 

แต่ แต่ สินค้าตัวนี้ หมดทุกปัญหา ขจัดทุกความลำบากในการเติมน้ำยาอาบน้ำไปอย่างสิ้นเชิง เป็นสินค้าที่ผู้เขียนยกให้เป็น User freindly ที่หนึ่งในใจเลย

 

 

  1. การออกแบบถุงเติมมาเป็นแบบฝาเกลียวหมุนเปิดถุง จากนั้นก็นำถุงยกเทใส่ขวด ซึ่งปากฝาเกลียวมันถูกออกแบบมาให้พอดีกับขนาดขวด ทำให้ใส่ได้ง่าย ไม่ต้องกลัวหก ไม่ต้องเล็ง หมดปัญหาตัดปากถุงใหญ่บ้างเล็กบ้าง ขนาดไม่พอดีกับขวดที่ทำให้เติมยาก

User freindly 

 

2) พอวางทาบถุงเติมกับขวดเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องถือถุง ไม่ต้องประคอง เพราะ มันไม่หล่น ไม่หก คือ มันจะคงสภาพเหมือนตีลังกาต่อหัวกันแบบนี้ไปจนน้ำยาลงหมดถุง ในช่วงเวลานั้นเราก็สามารถไปทำอย่างอื่นได้ ช่วยประหยัดเวลาได้มาก สุดท้ายก็แค่มาเก็บถุงที่น้ำยาหมดแล้วทิ้ง ปิดฝาขวดและใช้งานได้

User freindly 

User freindly 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

และนี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างเล็กๆที่นำมาฝากท่านผู้อ่าน และสิ่งที่ผู้เขียนชื่นชม ไม่ใช่เพียงเพราะตัวสินค้าเท่านั้น แต่ผู้เขียนชื่นชมแนวคิดของผู้ผลิตที่ใส่ใจต่อรายละเอียดปลีกย่อยและปัญหาที่ผู้ใช้งานประสบจริงๆ และนำข้อเสนอแนะ คำติเตียนเหล่านั้น มาพัฒนาต่อให้สะดวกกับผู้ใช้งาน หรือ User freindly เป็นมิตรกับผู้ใช้งานจริงๆ

 

คำถาม คือ หากผู้ผลิตไม่สนใจต่อเรื่องเล็กๆเหล่านี้ ได้ไหม คำตอบ คือ ได้ และผู้ใช้งานก็ยังคงทนใช้งานสินค้าแบบเดิมต่อไป เพราะฝั่งผู้ใช้เองก็อาจจะไม่มีประสบการณ์มากพอที่บอกได้ว่า สินค้าที่ดี User freindly ควรเป็นเช่นไร

แต่จากตัวอย่างที่ยกขึ้นมาให้เห็น ผู้เขียนเชื่อว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ หากมนุษย์คิดจะทำจริงๆ” ผู้เขียนเองก็เคยคิดว่า จะมีวิธีที่เติมน้ำยาได้ง่ายกว่านี้มั้ยเวลาที่เทหกเลอะเทอะ แต่ก็ไม่เคยคาดคิดว่าจริงๆแล้ว สินค้าสามารถพัฒนาได้มากกว่านั้น เช่น สินค้ารุ่นนี้เป็นต้น  เพราะนอกจากไม่หก เทง่ายแล้ว ยังไม่ต้องถือถุงขณะเติมอีกด้วย

 

การที่ผู้ผลิตบางรายอาจจะไม่ได้ใส่ใจรายละเอียดเหล่านี้ เพราะถ้าพิจารณาในแง่ของต้นทุนการผลิต ต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่ผลในระยะยาว เมื่อสินค้านั้น “ได้ใจผู้บริโภค” ไปแล้ว เขาจะกลายเป็น Brand royalty กับสินค้านั้นไปตลอด 

ในโลกแห่งการแข่งขันที่เข้มข้นรุนแรงของทุกสายงานธุรกิจในปัจจุบัน อะไรจะดีกว่า หากการได้เริ่มต้นก่อน เป็นความได้เปรียบอย่างนึง

 

สุดท้ายอยากฝากไว้ คุณภาพชีวิตที่ดี บางครั้งมาพร้อมกับต้นทุนที่สูงขึ้น … แต่อย่างน้อยการเริ่มตระหนักถึง คุณภาพชีวิตที่ดี ก็เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดขึ้น เริ่มจากจุดเล็กๆและค่อยๆพัฒนาขยายมากขึ้น เพราะมนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้ใช้ชีวิตแบบที่มีคุณภาพ 


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

CAPTCHA


Share via
Copy link
Powered by Social Snap