โตขึ้นอยากเป็นอะไร

โตขึ้นอยากเป็นอะไร คำถามที่ผู้ใหญ่หลายคนก็อาจจะไม่รู้คำตอบ

“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” คำถามที่ครั้งหนึ่งในสมัยเด็ก ผู้เขียนเคยตอบตามแพทเทิร์นเดิมๆ “หมอ วิศวะ”

แต่ลึกๆแล้ว ผู้เขียน “โตมาแบบที่ไม่รู้ว่าตนเองชอบหรืออยากจะเป็นอะไร”

โตขึ้นอยากเป็นอะไร

ย้อนไปในยุคสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนักเรียน ไปโรงเรียนจันทร์ ถึง ศุกร์ เริ่มเรียนตั้งแต่ 8 โมงครึ่ง เลิกเรียนสี่ถึงห้าโมงเย็น โดยประมาณ

เร็วหน่อยก็เลิกเรียนสามโมงครึ่ง แต่นับว่าเป็นส่วนน้อย รวมเวลาพักหนึ่งชั่วโมง ที่เหลือก็เป็นชั่วโมงเรียนประมาณวันละ 6-7 คาบ

ซึ่งยังไม่นับรวมเวลาหลังเลิกเรียน ที่เด็กไทยส่วนใหญ่ มักจะมีเรียนพิเศษต่อ หรือเรียนเสริมเพิ่มเติมพิเศษอื่นใด

 

แต่ถึงช่วงชีวิตในวัยเรียน ในแต่ละวันเราจะหมดไปกับชั่วโมงเรียนในห้องเรียนถึงวันละ 6-7 ชั่วโมง คำถามคือ คุณภาพของการเรียนที่

เราได้รับ “เหมาะสมเพียงพอแค่ไหน ที่จะทำให้เด็กไทย เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่พร้อมแค่ไอคิวสติปัญญา แต่ยังรวมถึงความพร้อมทาง

วุฒิภาวะทางอารมณ์ ตรรกะการประมวลผล การคิดวิเคราะห์ นำองค์ความรู้ทางทฤษฎีตามตำรา ไปปรับใช้จริงๆ ในชีวิต”

 

คำถามนี้ดังหนักแน่นขึ้น เมื่อผู้เขียนผ่านพ้นวัยเรียน เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว และผ่านประสบการณ์ในชีวิตมาระดับหนึ่ง 

 

ในวัยมัธยมปลาย ผู้เขียนเรียนในสายวิทย์-คณิต ตามที่พ่อแม่แนะให้เรียน ซึ่งถามว่าเรียนได้ไหม คำตอบคือ เรียนได้ ผู้เขียนได้เกรดที่ดีพอใช้ และ

สอบเอนทรานซ์ติดมหาวิทยาลัยต้นๆของประเทศ โดยไม่เคยเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน หรือวันเสาร์อาทิตย์เพิ่มเติมเลย

 

เมื่อย้อนกลับไปมองทุกครั้งความรู้สึกในการเรียนวิทยาศาสตร์ในตอนนั้น  ผู้เขียน รู้สึกไม่สนุกในการเรียน ถึงแม้คุณครูท่านจะตั้งใจพูดอธิบาย เพียงแต่

“คำอธิบายเหล่านั้นไม่สามารถมองเห็นเป็นภาพที่ชัดเจน” และสุดท้ายผู้เขียนในตอนนั้น เกิดคำถามขึ้นกับตนเอง “นี่เราเรียนวิชาเหล่านึ้ไปเพื่ออะไร”

เมื่อเกิดคำถามกับตัวเองดังนั้นแล้ว  ตอนสอบเอ็นทรานซ์ผู้เขียนจึงเลือกเบนสายการเรียนที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เลย

 

เหตุผลตอนนั้นคือ เราไม่ชอบ และอันที่จริงแล้ว ผู้เขียนไม่เคยเข้าใจว่า “เมื่อเรียนสิ่งเหล่านั้นแล้ว มันจะสร้างประโยชน์กับชีวิตได้อย่างไร”

น่าแปลก ที่เด็กนักเรียนไทย ใช้เวลาในการเรียนในห้องเรียนมากมาย สามารถแก้โจทย์ คิดคำนวณสูตรต่างๆได้ตามตำรา แต่กลับไม่สามารถ

คิดวิเคราะห์สิ่งที่่อยู่นอกเหนือตำรา นอกห้องเรียนได้

 

เมื่อชีวิตก็ดำเนินมาถึงจุดนี้ แน่นอนว่า ไม่มีใคร สามารถย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้ และถึงจะสามารถทำได้จริง ผู้เขียนก็เลือกที่จะไม่ขอแก้ไขอดีตใดๆ

เพราะ ทุกเรื่องราวในชีวิตที่ผ่าน ก็ถือเป็นบทเรียนประสบการณ์ชีวิตให้กับตนเอง ในการทำทุกๆวันต่อไปนี้ให้ดีที่สุด และถึงแม้ผู้เขียนกลับเพิ่งค้นพบว่า

จริงๆแล้ว ตนเองสนใจวิทยาศาสตร์ ทั้งดาราศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเคยปฏิเสธไม่อยากเรียนในอดีต แต่ถึงทุกวันนี้ ผู้เขียนกลับพบว่า

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก น่าสนใจ และใกล้ตัวเรากว่าที่เราคิด

จะดีแค่ไหน หากสมัยเป็นนักเรียน เราสามารถมอง วิทยาศาสตร์ความเป็นจริง กับ องค์ความรู้ในตำรา  ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เชื่อว่า การมุมมองการเรียนวิทยาศาสตร์

ในขณะนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

 

อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้เขียนเรื่องนี้ เพื่อที่จะบอกว่าตนเองอยากย้อนเวลากลับไปเรียนวิทยาศาสตร์อีกครั้ง

แต่ผู้เขียนอยากบอกเล่าประสบการณ์ของตนเอง เพื่อที่ว่าและหวังว่านอนาคตเด็กไทย จะได้มีโอกาสเรียนด้วยความสนุก 

เพื่อที่ว่า เด็กๆต่อจากนี้ไป จะรู้จักคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองนอกเหนือจากบทเรียน เพื่อที่ว่า พวกเขาจะได้เข้าใจความต้องการของตนเอง รู้ว่าตนเองสนใจและถนัดอะไร

 

จริงๆแล้ว คงไม่ถูกต้องนักหากจะโยนความผิดทุกอย่างไปที่การศึกษา ในสมัยเป็นเด็ก ฐานะทางบ้านผู้เขียนแม้ไม่ถึงกับยากจน แต่ก็ไม่ได้มีโอกาสหรือความพร้อม

ที่พ่อแม่จะสามารถขวนขวายหาสิ่งต่างๆมาซัพพอร์ตลูกๆได้ เต็มที่นัก

 

ผู้เขียนจึงอยากจะพูดแทน เด็กๆที่อยู่ในชนชั้นระดับกลางถึงล่างลงไป ที่อยู่ในระบบการศึกษาปัจจุบัน ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราอาจจะต้องกลับมา

ทบทวนระบบการเรียนรู้ให้เด็กๆ

เพราะเด็กในวันนี้ คือ อนาคตของชาติในวันข้างหน้า คำกล่าวนี้ยังถูกต้องเสมอ เราอยากเห็นประเทศของเราเป็นแบบไหนในวันข้างหน้า

ก็ต้องเริ่มพัฒนาเยาวชนตั้งแต่วัยเด็ก

 


Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

CAPTCHA


Share via
Copy link
Powered by Social Snap