Category: Other
-
‘เสียดาย’ เมื่อลงทุน bitcoin ด้วยเงิน1,000 บาท
รู้อะไรไม่เสียดายเท่า ถ้ารู้งี้ คงจะลงทุนใน bitcoin มากกว่านี้ ตอนนี้ใครที่ติดตามข่าวสารด้านการลงทุนในเหรียญคริปโต (Cryptocurrency) คงจะไม่มีใครไม่รู้จัก bitcoin ชื่อของเหรียญที่ทำสถิติราคาขึ้นไป New high ได้สูงขึ้นอย่างพุ่งพรวด ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว 2020 จนข้ามมาถึงต้นปีนี้ 2021 ราคาขึ้นไปแตะระดับ 1.8MB / 1 btc (bitcoin) ที่ต้องบ่น ‘เสียดาย’ หนักๆ ก็เพราะผู้เขียนเริ่มสนใจมาศึกษาเหรียญคริปโตในจังหวะที่เกิดโควิด 19 และได้ลองวางเงินลงทุน 1,000 บาท เพื่อลองเทรดดูเท่านั้น ในตอนนี้ราคา 1 btc อยู่ที่ประมาณ 299,000 บาท ซึ่งในตอนนั้นก็รู้สึกว่าราคาขึ้นไปค่อนข้างสูงแล้ว จึงไม่แน่ใจว่าควรจะซื้อจริงหรอ? นี่คือคำถามในใจตอนนั้น และความลังเล ประกอบกับอยู่ในช่วงศึกษาการลงทุนเหรียญ จึงลองวางเงินลงไปเพียง 1,000 บาท และค่อยๆสังเกตระดับราคา และอย่างที่ไม่ได้คาดหวังอะไรนัก ปรากฎว่า bitcoin กลับทำราคาพุ่งขึ้นแรง ณ ปัจจุบัน ราคาก็ขึ้นไปแตะเกินหลักล้านบาทนั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ตกใจและ…
-
2 เมนูอาหารไทย ติดอันดับอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของ CNN 2020
CNN ได้ประกาศผลการจัดอันดับอาหารที่สุดที่สุดของโลก ประจำปี 2020 The world’s 50 best foods และอาหารไทยสามารถติด Top10 ได้อีกครั้ง โดยในสิบอันดับอาหารที่ดีที่สุดในโลกประจำปีนี้ เป็นอาหารไทยถึง 2 เมนูด้วยกัน และยิ่งน่าภาคภูมิใจขึ้นไปอีก เมื่อหนึ่งในสองเมนูอาหารไทย คว้าอันดับหนึ่งอาหารที่ดีที่สุดในโลกไปครอง ไปดูกันว่า 10 อันดับแรกมีเมนูจากชาติอะไรบ้าง 1.Massaman curry, Thailand และอันดับหนึ่งคือ แกงมัสมั่นของไทย 2. Neapolitan pizza, Italy 3.Chocolate, Mexico 4.Sushi, Japan 5.Peking duck, China 6.Hamburger, Germany 7.Penang assam laksa, Malaysia 8.Tom yum goong, Thailand ต้มยำกุ้งก็ไม่น้อยหน้า อยู่ในอันดับที่ 8 9.Ice cream, global 10.Chicken…
-
เวลา… สิ่งที่ไม่อาจเรียกร้องให้ย้อนคืนมาได้
เวลา… สิ่งที่ไม่อาจเรียกร้องให้ย้อนคืนมาได้ เคยไหม… ที่เราเคยนึกเสียใจที่ปล่อยให้เวลาผ่านไป และสุดท้ายได้แต่นึกเสียดายกับที่ ‘ทำ’ หรือ ‘ไม่ได้ทำ’
-
ผู้อพยพลี้ภัย… กับชีวิตที่แม้เกิดมา ก็ไม่สามารถเลือกได้
ในขณะที่ชีวิตส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ เกิดมาแม้จะไม่ได้ร่ำรวยมีเงินทองมากมาย แต่ก็สามารถใช้ชีวิตขั้นพื้นฐานได้อย่างพอเพียง แต่รู้หรือไม่ว่าในขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายชีวิตบนโลกใบนี้ ที่คนเหล่านั้นไม่สามารถเลือกแผ่นดินที่เกิดได้ ในขณะที่เรายังกล่าวโทษคนมากมายกับชีวิตที่ไม่ได้ดั่งใจ แต่ในขณะเดียวกัน อีกหลายชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่รู้แม้แต่จะกล่าวโทษ “ใคร” หรือ “อะไร”ดี เมื่อสงคราม ภัยพิบัติธรรมชาติ และปัจจัยอื่นๆ บีบบังคับให้คนต้องหนีออกจากแผ่นดินเกิดที่แท้จริงแล้ว ควรจะเป็นหลักให้กับชีวิตเพราะ ตั้งแต่ลืมตาดูโลกขึ้นมา ประเทศที่มีแต่สงคราม ความรุนแรง ครอบครัวอาจถูกฆ่า พวกเขากลายเป็นเด็กกำพร้า กลายเป็นคนไร้บ้าน ไม่มีสิทธิเลือกอาหารที่จะกิน ไม่มีโอกาสในการใช้ชีวิตแม้แต่ขั้นพื้นฐานที่พอเพียง … ไม่มีแม้แต่อนาคต จึงทำให้เกิดคนเหล่านี้ที่เรียกว่า ผู้อพยพลี้ภัย Refugee อ้างอิงจากสถิติขององค์การสหประชาชาติ หรือ UN มีประชาชนที่กลายเป็นผู้อพยพลี้ภัยถึง79.5 ล้านคน ใกล้เคียงจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ 79.5 ล้านคน ไม่ใช่ตัวเลขที่น้อย และบ่งบอกอะไรบางอย่างอย่างมีนัยยสำคัญ โดยผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากประเทศเหล่านี้ตามลำดับ Syrian Arab Republic (6.7 million) Afghanistan (2.7 million) South Sudan (2.3 million)…
-
คิดแบบญี่ปุ่น : การรักษาลูกค้า ให้อยู่กับธุรกิจ
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ หรือแม้แต่ให้อยู่รอด ในยุคปัจจุบัน ทั้งการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ธุรกิจใหม่ๆ ร้านค้าใหม่ๆ พ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ทั้งออนไลน์ ออฟไลฟ์เกิดขึ้นมากมาย ยิ่งในยุคโควิดนี้ด้วยแล้ว การแข่งขันทางธุรกิจยิ่งทวีความรุนแรง ใครที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง นั่นย่อมสามารถเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดให้ธุรกิจได้มากขึ้น แต่การหาลูกค้าใหม่ๆที่ว่ายากแล้ว สิ่งที่ยากและสำคัญไม่เป็นสองรองสิ่งใด คือ การรักษาฐานลูกค้าเก่า ให้ยังคงอยู่กับเรา ให้ยังซื้อสินค้าจากธุรกิจนั้นๆ เป็นสิ่งที่ท้าทายไม่แพ้กัน ยิ่งมีสินค้าใหม่ๆ จากคู่แข่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดแล้วนั้น จะทำอย่างไรให้ลูกค้าไม่หันไป(ลอง)ซื้อสินค้าจากคู่แข่ง แทนเรา แน่นอนว่า คุณภาพของสินค้า ก็สำคัญ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ และเป็นกุญแจสำหรับทุกๆธุรกิจ คือ “การบริการหรือ serivce” การบริการที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจให้กับลูกค้าไม่ว่าในแง่ใดแง่หนึ่งนั้น ย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ลูกค้ายังคงเลือกอยู่กับธุรกิจนั้นๆต่อ “การบริการหรือ serivce” มีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง ฟังดูเหมือนจะง่าย แต่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดในแง่ของการปฏิบัติ เพราะเราไม่มีทางเข้าใจจุดเซ็นซิทีฟของลูกค้าได้อย่างถ่องแท้ การให้บริการโดยพยายาม “คิดถึงใจเขา ใจเรา จึงเป็นการพยายามเข้าไปนั่งในใจของลูกค้าให้มากที่สุด” หากเราเป็นลูกค้า และเจอประสบการณ์แบบนี้ เราจะยังอยากซื้อหรือใช้บริการจากธุรกิจนี้หรือไม่ นี่เป็นคำถามพื้นฐานสามัญ ที่ควรมีอยู่ในใจเสมอ ญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งที่มีชื่อเสียงในแง่ของการสร้างความประทับใจในด้านการบริการให้แก่ลูกค้า ยิ่งนักท่องเที่ยวต่างประเทศส่วนใหญ่ ยิ่งประทับใจในการบริการแบบญี่ปุ่นที่ค่อนข้างมีมารยาทและให้ความสนใจแม้แต่ “เรื่องเล็กๆน้อยๆของลูกค้า” …
-
ถ้าเลือกได้ ใครๆก็อยากปราศจากโรคภัยเจ็บ
ช่วงนี้ที่ญี่ปุ่น มีข่าวผู้นำประเทศญี่ปุ่น นายกฯชินโสะ อาเบะ ป่วยจนต้องเข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ยังไม่มีการระบุถึงสาเหตุหรืออาการป่วย มีแค่เพียงแต่การคาดเดากันไปต่างๆนา ทำให้นึกถึงคำกล่าวไทยที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หากเลือกได้จริง เชื่อว่าใครๆก็อยากจะปราศจากโรคภัยด้วยกันทั้งนั้น แต่ในสถานการณ์โลกที่แสนหนักหน่วงในปัจจุบันนี้ แม้แต่นายกฯของญี่ปุ่น ยังถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อได้ ปีนี้ถ้าจะให้พูดกันตามตรง ถือเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับประเทศญี่ปุ่นอีกปีหนึ่งก็อาจจะเรียกได้ไม่ผิดนัก แน่นอนว่า โควิด คือสาเหตุหลัก ในขณะที่ทั่วโลกก็โดนเล่นงานโดยพิษโควิดนี้ ไม่มีเว้น แต่ญี่ปุ่นนั้น อาจจะน่าเห็นใจมากกกว่าสักหน่อย เพราะจริงๆแล้ว ปีนี้ถ้าไม่มีเรื่องโควิดเข้ามา ประเทศญี่ปุ่นจะได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของ โลก และญี่ปุ่นก็รอคอยโอกาสในการได้จัดกีฬาโอลิมปิกมายาวนาน นับตั้งแต่การจัดการแข่งขันโอลิมปิก ฤดูร้อน ทั้งสุดท้ายในปี 1964 ในขณะที่ทุกภาคส่วนของญี่ปุ่นได้เตรียมการ เตรียมความพร้อมเพื่อการนี้ และหมายมาดคาดหวังว่าปี 2020 จะเป็นอีกปีที่ญี่ปุ่นได้โชว์ ศักยภาพให้ชาวโลกประจักษ์ และสามารถเร่งเครื่องเศรษฐกิจจากเม็ดเงินที่จะไหลเวียนมาจากผู้ชมที่เข้าร่วมจากนานาประเทศทั่วโลก แต่คนคำนวณบางครั้งก็ไม่สู้ฟ้าลิขิต ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามที่ทำให้เกิดการระบาดของโควิดขึ้นนั้น ได้ทำให้กีฬาโอลิมปิกในปีนี้ล้มไม่เป็นท่า ต้องเลื่อนการจัดการแข่งขันไปในปีหน้า ซึ่งสุดท้ายก็ยังไม่มีใครสามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า ในปีหน้าจะมีการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ ในญี่ปุ่นทั้งเรื่องเศรษฐกิจที่ทรุดฮวบ และการระบาดของโควิดที่ยังดูเหมือนว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่น ยังไม่มีแนวโน้มลดลง เฉพาะโตเกียวที่เดียว…
-
ถ้าคุณอดทนทำอะไรได้นานพอ สุดท้ายแล้วก็คุณก็จะประสบความสำเร็จในสิ่งนั้น
ญี่ปุ่นมีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า 冷たい石でも3年座っていたら暖かくなるでしょう “If you persevere, you will eventually succeed” แปลเป็นไทยก็คือ ถ้าคุณอดทนทำอะไรได้นานพอ สุดท้ายแล้วก็คุณก็จะประสบความสำเร็จในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับหิน แม้ในตอนแรก หินนั้นจะเย็นยะเยือกเฉียบเพียงใดก็ตาม แต่หากคุณนั่งบนหินนั้นไปสักสามปี สุดท้ายแล้ว แม้แต่หินที่เย็นก็จะกลายเป็นหินที่อุ่นขึ้นได้ หากเทียบกับสุภาษิตไทย ก็อาจจะคล้ายๆกับ “ความพยายามอยุ่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” หรือ “น้ำหยดบนหิน ทุกวันหินยังกร่อน” แล้วทำไมถึงต้อง 3 ปี คำตอบคือ การที่เราจะเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ผลสัมฤทธิ์ดีนั้น คุณจำเป็นต้องให้เวลากับสิ่งๆนั้น ในหนึ่งปีแรกนั้น เราอาจจะได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานในสิ่งนั้นทั้งหมด และในปีที่สองถัดมา องค์รวมความรู้ที่เราสะสมไว้ก็จะเริ่มออกดอกออกผล เราสามารถนำความรู้มาใช้งานได้อย่างดีมากขึ้น และในปีที่สาม ผู้เขียนมองว่า เป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างการเลือกในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว และจะพัฒนาไปให้ดียิ่งๆขึ้น หรือ เราอาจจะพบว่า สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจริงๆ และสุดท้าย เราอาจจะล้มเลิก หรือเบนเข็มไปในทิศทางอื่น ดังนั้น ในช่วงเวลาสามปี จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก และท้าทายความสามารถตัวเอง หากสุดท้ายแล้ว…
-
โตขึ้นอยากเป็นอะไร คำถามที่ผู้ใหญ่หลายคนก็อาจจะไม่รู้คำตอบ
“โตขึ้นอยากเป็นอะไร” คำถามที่ครั้งหนึ่งในสมัยเด็ก ผู้เขียนเคยตอบตามแพทเทิร์นเดิมๆ “หมอ วิศวะ” แต่ลึกๆแล้ว ผู้เขียน “โตมาแบบที่ไม่รู้ว่าตนเองชอบหรืออยากจะเป็นอะไร” ย้อนไปในยุคสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนักเรียน ไปโรงเรียนจันทร์ ถึง ศุกร์ เริ่มเรียนตั้งแต่ 8 โมงครึ่ง เลิกเรียนสี่ถึงห้าโมงเย็น โดยประมาณ เร็วหน่อยก็เลิกเรียนสามโมงครึ่ง แต่นับว่าเป็นส่วนน้อย รวมเวลาพักหนึ่งชั่วโมง ที่เหลือก็เป็นชั่วโมงเรียนประมาณวันละ 6-7 คาบ ซึ่งยังไม่นับรวมเวลาหลังเลิกเรียน ที่เด็กไทยส่วนใหญ่ มักจะมีเรียนพิเศษต่อ หรือเรียนเสริมเพิ่มเติมพิเศษอื่นใด แต่ถึงช่วงชีวิตในวัยเรียน ในแต่ละวันเราจะหมดไปกับชั่วโมงเรียนในห้องเรียนถึงวันละ 6-7 ชั่วโมง คำถามคือ คุณภาพของการเรียนที่ เราได้รับ “เหมาะสมเพียงพอแค่ไหน ที่จะทำให้เด็กไทย เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใช่พร้อมแค่ไอคิวสติปัญญา แต่ยังรวมถึงความพร้อมทาง วุฒิภาวะทางอารมณ์ ตรรกะการประมวลผล การคิดวิเคราะห์ นำองค์ความรู้ทางทฤษฎีตามตำรา ไปปรับใช้จริงๆ ในชีวิต” คำถามนี้ดังหนักแน่นขึ้น เมื่อผู้เขียนผ่านพ้นวัยเรียน เป็นผู้ใหญ่เต็มตัว และผ่านประสบการณ์ในชีวิตมาระดับหนึ่ง ในวัยมัธยมปลาย ผู้เขียนเรียนในสายวิทย์-คณิต ตามที่พ่อแม่แนะให้เรียน ซึ่งถามว่าเรียนได้ไหม…
-
คุณเคยลอกข้อสอบไหม?
คุณเคยลอกข้อสอบไหม❓ เชื่อว่าทุกคนคงจะมีคำตอบในใจกันแล้ว ผู้เขียนไม่ได้จะตัดสินใจเรื่องการลอกข้อสอบ แต่ผู้เขียนจะมาแชร์เรื่องราวหนึ่งในวัยเด็กกับผู้อ่าน เพื่ออาจจะเป็นข้อคิดเล็กๆน้อยๆกลับไปฝากท่านผู้อ่าน เหตุเกิดในวันเด็ก สมัยเป็นเด็กเล็กมาก ตอนนั้นอยู่ระดับชั้นอนุบาล 1 หรือ2 ก็จำไม่ค่อยชัดเจนแล้วนั้น ในขณะที่ความทรงจำในวัยเด็กขนาดนั้นค่อนข้างเลือนลางแต่สิ่งที่ผู้เขียนจำไม่ได้ ไม่เคยลืมเลย คือ ผู้เขียนถูกกล่าวโทษว่า “ลอกข้อสอบเพื่อน” ภาพจำในสมองที่ชัดเจนคือ วันนั้นเป็นวันสอบอะไรสักอย่าง โต๊ะของนักเรียนอนุบาลแต่ละคนถูกแยกห่างจากกัน จังหวะที่ เด็กคนหนึ่งกำลังนั่งมองเหม่อ ใบหน้าก็หันไปมองด้านข้างเรื่อยๆ แต่สสายตาไม่ได้เพ่งไปที่ กระดาษข้อสอบแต่อย่างใด และคงประจวบกับเป็นระยะโต๊ะของเพื่อนอนุบาลคนอื่น และแบบนั้นเอง ที่ทำให้เด็กอนุบาลคนนั้นถูกครูตำหนิว่า “ลอกข้อสอบ” ลอกข้อสอบคืออะไร เด็กอายุเท่านั้นยังไม่เข้าใจความหมายจริงๆเลยด้วยซ้ำว่า ทำไมต้องลอกข้อสอบ เด็กอายุแค่ 4-5ขวบ มีความจำเป็นอะไรต้องลอกข้อสอบหรือ เพื่อให้ได้เกรดดีๆ มีหน้ามีตาในสังคมหรือ แค่เพียงเด็กที่ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ว่า เวลาสอบไม่ควรหันมองรอบข้าง ไม่ได้หมายว่า เด็กคนนั้นจะมีเจตนาลอกข้อสอบแต่อย่างใด และโดยไม่ฟังคำอธิบายของเด็กคนนั้น คุณครูอนุบาลคนนั้น ได้เรียกพบผู้ปกครองและแจ้งว่า ลูกคุณลอกข้อสอบนะ ภาพความทรงจำหลังจากนั้น ช่างเบาบางเลือนลางนัก ผู้เขียนเองก็จำไม่ได้แจ่มชัดนัก แต่ผู้เป็นแม่ ไม่ได้ตำหนิหรือว่ากล่าวโทษใดๆเมื่อฟังคำอธิบายที่ออกจากปาก ลูกตัวน้อยที่ค่อนข้างยังตกใจและสับสนว่าตนเองทำอะไรผิด “หนูแค่มองไปข้างๆ ตาไม่ได้ดูกระดาษ(ข้อสอบของคนอื่น)เลย” เมื่อผลสอบครั้งนั้นออก…
-
เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ญี่ปุ่นกับปี 2020
การระบาดของโรคครั้งใหญ่ ปีนี้คงไม่ใช่ปีของญี่ปุ่นจริงๆ เพราะนอกจากสถานการณ์โควิดที่ยังไม่ดีขึ้น หลังจากยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปเมื่อเดินมิถุนายนที่ผ่านมา หลายคนคงถอนหายใจโล่งออกไปเปราะนึง เพราะคิดว่า สถานการณ์ในญี่ปุ่นจะดีขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่า เพราะความร่วมมือเป็นอย่างดีของประชาชนและหลายภาคส่วนที่ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด โดยการสวมหน้ากากอนามัย ทำให้หลายๆจังหวัด ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงอย่างเห็นได้ชัด ยกเว้น เมืองหลวงอย่างโตเกียว จังหวัดเดียวที่กลับมีตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง โดยแตะหลักร้อยกว่าคนต่อเนื่องมาเกือบหนึ่งสัปดาห์แล้ว เลื่อนแข่งโอลิมปิก และเพราะผลพวงของความไม่แน่นอนในสถานการณ์โควิด ญี่ปุ่นจำต้องประกาศเลื่อนการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ออกไปเป็นปีหน้า ซึ่งตามตารางต้องมีการแข่งขันในช่วงเดือนสิงหาคม ถึง กันยายนปีนี้ การเตรียมความพร้อมต่างๆ ที่ต้องใช้เม็ดเงินมหาศาล คาดการณ์ว่า การเลื่อนจัดการแข่งขันโอลิมปิกของญี่ปุ่น สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 20 ล้านล้านเหรียฐดอลลาร์ เศรษฐกิจ แน่นอนว่า ไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่นที่ต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจหดตัวจากการระบาดระดับโลกของไวรัสโคโรน่าตั้งแต่ช่วงต้นๆปีที่ผ่านมา และยิ่งช่วงประกาศภาวะฉุกเฉิน ร้านค้าต่างๆจำต้องปิดตัวลงชั่วขณะ หลายๆอาชีพต้องขาดรายได้ ตกงาน ถ้าไม่นับสถาการณ์ไม่คาดคิดที่เกิดขึ้น การยกเลิกหรือเลื่อนการจัดการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก 2020 ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ ให้ญี่ปุ่นพอสมควรเลยทีเดียว ยิ่งประกอบสถานการณ์โควิด ที่ภาคส่วนธุรกิจไม่สามารถเดินหน้าธุรกิจได้แบบเต็มร้อย และในหลายๆธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน แนวทางการทำธุรกิจให้เหมาะสมกับ new normal ของประชาชนที่บางอย่างไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีก แน่นอนว่า อาจจะมีทั้งธุรกิจใหม่ที่ประสบการณ์ความสำเร็จ แต่ในขณะเดียวกัน บางธุรกิจก็อาจจะต้องตายไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้…