เชื่อว่าญี่ปุ่นเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของหลายๆคน
หากใครที่คิดอยากมาทำงานที่ญี่ปุ่นนั้น ต้องมีหลายสิ่งให้เตรียมความพร้อมก่อน
7 เรื่องที่จะแนะนำสำหรับคนที่อยากมาทำงานที่ญี่ปุ่น
ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว แน่นอนที่สุด ประเทศญี่ปุ่นมีความสวยงามทั้งทางธรรมชาติ
สถาปัตยกรรมแบบญี่ปุ่นดั่งเดิมที่ยังหลงเหลืออยู่ในหลายๆเมือง หรือแม้จะเป็นความเจริญ
ของตึกรามสมัยใหม่ในเมืองหลวง ก็สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวไม่รู้ลืม
แต่หากใครจะต้องการมาปักหลักใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น แน่นอนที่สุดและหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การทำงาน
สามารถอ่านบทความย้อนหลัง
วิธีหางานแบบละเอียด
วิธีหางานพาร์ทไทม์ Part time job ในประเทศญี่ปุ่น (แบบละเอียด)
การสัมภาษณ์งานกับคนญี่ปุ่น
สัมภาษณ์งานในญี่ปุ่น (กรณีร้านสะดวกซื้อ コンビニアルバイト) อย่างละเอียด
7 สิ่งที่ควรรู้ หากอยากทำงานที่ญี่ปุ่น
1. ภาษา
การจะไปอยู่ที่ใดในโลกที่ไม่ใช่ประเทศของตนเองนั้น อุปสรรคอย่างแรกที่ต้องก้าวข้ามให้ได้ นั่นคือ ภาษา
เช่นกัน หากอยากมาทำงานที่ญี่ปุ่น คุณควรมีความรู้ภาษาญี่ปุ่น อย่างน้อยๆพื้นฐานภาษาญี่ปุ่น ภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
เพื่อให้การดำรงชีวิตพื้นฐานเป็นไปได้ไม่สะดุดมากนั้น แนะนำว่าก่อนมาเริ่มงานที่ญี่ปุ่น คุณควรมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นระดับชีวิตประจำวันหรือ JLPT N3
เป็นอย่างน้อย และที่สำคัญ ยิ่งระดับภาษาญี่ปุ่นดีเท่าไหร่ ก็มีผลต่อการได้งานที่ดีมากขึ้นเท่านั้น
เหตุผลที่แนะนำว่า ควรความรู้ภาษาระดับ N3 เพราะว่า เมื่อคุณมาใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่นจริงๆแล้วนั้น N5, N4 แทบไม่มีประโยชน์เลยเมื่อคุณเข้าไปอยู่ในสังคม
การทำงานกับคนญี่ปุ่น
2. วัฒนธรรมและวิธีคิด
ดังสำนวนภาษิตไทยที่ว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม”
นอกจากภาษาแล้ว สิ่งที่ควรเรียนรู้เพิ่มเติมและทำความเข้าใจก่อนมาทำงานที่ญี่ปุ่น คือ วัฒนธรรมและวิธีคิดแบบคนญี่ปุ่น
จริงๆแล้ว หลายคนคงเคยรับรู้กิตติศัพท์กันอยู่แล้วว่า คนญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยสูง และที่สำคัญ ตรงต่อเวลา
เมื่อเข้ามาอยู่ในเมืองที่ทุกคนให้ความสำคัญกับการตรงต่อเวลามาก เรียกได้ว่า สำคัญที่สุดอย่างนึงในระบบสังคมญี่ปุ่นเลยทีเดียว
คุณก็ควรปรับตัวให้เป็นคนที่ตรงต่อเวลา ด้วยเช่นกัน เรื่องนี้จะช่วยให้คุณไม่เกิดปัญหาเมื่อมาทำงานกับคนญี่ปุ่น
ในแง่ของวัฒนธรรม มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ที่อธิบายครั้งเดียวก็คงไม่หมด
แต่สิ่งที่อยากจะแนะนำสำหรับทุกคนที่อยากมาทำงานในญี่ปุ่นคือ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม
เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจจะมากกว่าความรู้ภาษาด้วยซ้ำ เพราะหากคุณแสดงออกถึงความพยายามในการ
เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำงานเพื่อองค์กรและแสดงให้หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเห็นว่าคุณมีความตั้งใจและเรียนรู้
การทำงานแบบคนญี่ปุ่นได้แล้วนั้น เชื่อว่าคุณจะได้รับความเอ็นดูและให้โอกาสในการทำงาน
หากวัฒนธรรมตะวันตก เน้นเรื่องแสดงออกทางความคิดและความสามารถแบบชัดเจน
วัฒนธรรมญี่ปุ่น จะเน้นเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจ ความพยายาม และยืนยันความถูกต้อง
3. อัตราค่าแรงในญี่ปุ่น
อ้างอิงจากประกาศอัตราค่าแรงขั้นต่ำของญี่ปุ่นที่ให้ไว้กับ กระทรวงแรงงาน เมื่อปี พ.ศ. 2560
อัตราค่าแรงขั้นต่ำของแต่ละเมืองจะแตกต่างกันไป โดย 3 จังหวัดที่อัตราสูงสุด คือ
โตเกียว อัตราชั่วโมงละ 958 เยน
คานาซาว่า อัตราชั่วโมงละ 956 เยน
โอซาก้าที่ อัตราชั่วโมงละ 909 เยน
จังหวัดอื่นๆ จะมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันไป โดยค่าแรงโดยเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 848 เยน ต่อชั่วโมง
นอกจากจังหวัดที่ทำงานอยู่นั้น มีผลต่ออัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับแล้วนั้น และประเภทของงานที่ทำ ก็มีผลต่ออัตราค่าแรงที่ได้รับเช่นกัน
อ้างอิงที่มา
4. ค่าครองชีพในญี่ปุ่น
เมื่อทราบรายได้และค่าแรงขั้นต่ำในญี่ปุ่นไปแล้ว เพื่อให้ครบองค์ประกอบการตัดสินใจ
ควรต้องศึกษาค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่าครองชีพในญี่ปุ่นด้วย
เพื่อคำนวณว่ารายได้ที่คาดว่าจะได้รับ
เหมาะสมสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆ
และจะมีเพียงพอเหลือเก็บ หรือบางท่านที่ต้องการส่งเงินกลับมาให้ครอบครัว
ก็จะช่วยให้คำนวณได้ว่า การมาทำงานที่ญี่ปุ่นนั้น คุ้มค่าหรือไม่
โดยสรุป
ค่าใช้จ่าย | โดยประมาณต่อหนึ่งคน |
ค่าเช่าที่อยู่อาศัย | 30,000 – 100,000 เยน |
ค่าอาหาร | 20,000 – 30,000 เยน |
ค่าใช้จ่ายเดินทาง | 5,000 – 10,000 เยน |
ค่าสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส) | ประมาณ 10,000 เยน |
ค่าบริการสื่อสาร (ค่าโทรศัพท์) | ประมาณ 10,000 เยน |
ภาษี ค่าประกันสุขภาพและภาษีบำนาญ และอื่นๆ | 30,000 – 40,000 เยน |
*ตารางข้างบน เป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ยกขึ้นมาคร่าวๆโดยประมาณ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่และจังหวัดที่อยู่อาศัย
5. สภาพแวดล้อมและภัยพิบัติ
เนื่องจากประเทศเป็นเกาะบนมหาสมุทรแปซิฟิก ไม่มีพรมแดนด้านใดติดประเทศอื่นๆเลย และยังตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลก หรือ วงแหวนแห่งไฟ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เนืองๆ ที่หนักและเกิดบ่อยที่สุด คือ แผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังมีพายุไต้ฝุ่นที่พาดผ่านแนวประเทศญี่ปุ่นในทุกๆปีนึงไม่ต่ำกว่าสิบครั้ง ทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่มในหลายๆพื้นที่
ดังนั้น ควรเตรียมความพร้อมและศึกษาวิธีการดูแลตนเองและป้องกันทรัพย์สินหากเกิดภัยพิบัติขึ้น
6. วีซ่าและประเภทของการพำนัก
ที่ญี่ปุ่นไม่มี ใบอนุญาตทำงาน หรือ work permit แต่การทำงานนั้นจะขึ้นอยู่กับสถานภาพพำนักที่ได้รับตอนยื่นขอ Visa
ยกเว้น กรณีของ ผู้พำนักถาวร ผู้พำนักถาวรพิเศษ ผู่พำนักระยะยาว ผู้พำนักระยะยาว คู่สมรสผู้พำนักถาวรหรือชาวญี่ปุ่น เป็นต้น สามารถทำงานได้โดยไม่มีข้อจำกัด พูดง่ายๆคือ ทำงานได้ทุกประเภทนั่นเอง
สำหรับ ผู้ที่ต้องการมาทำงานที่ญี่ปุ่น และตอนได้รับวีซ่า ประเภทของงานจะถูกระบุอยู่บนวีซ่า และบัตรไซริว (residence card) และไม่สามารถย้ายงานได้เอง โดยไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงประเภทวีซ่าจากนายจ้างใหม่
สถานภาพพำนักประเภทต่างๆมีดังนี้
สถานภาพพำนัก
|
กิจกรรมที่อนุญาต
|
ระยะเวลาอนุญาต
|
1. นักการทูต (Diplomat)
|
กิจกรรมของสมาชิกคณะทูตานุทูตของรัฐบาลต่างประเทศ รวมถึงการประกอบกิจกรรมของสมาชิกในครอบครัว
|
ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
|
2. เจ้าหน้าที่ขององค์กรภาครัฐต่างประเทศ (Official)
|
กิจกรรมของหน่วยงานรัฐบาลของต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว
|
5 ปี, 3 ปี,1 ปี, 3 เดือน, 30 วัน หรือ 15 วัน
|
3. ศาสตราจารย์ (Professor)
|
กิจกรรมค้นคว้าวิจัย ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการค้นคว้าวิจัย การศึกษาในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นหรือเทียบเท่า
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ
3 เดือน |
4. ศิลปิน
(Artist) |
กิจกรรมด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม
วิจิตรศิลป์ ฯลฯ และดำรงชีพด้วยรายได้จากกิจกรรมเหล่านี้ |
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
|
5. ผู้ประกอบกิจกรรมทางศาสนา
(Religious Activities) |
ผู้เผยแพร่ศาสนาที่ถูกส่งมาจากองค์กรทางศาสนาในต่างประเทศเพื่อประกอบกิจกรรมด้านศาสนา
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
|
6. นักข่าว/นักหนังสือพิมพ์ (Journalist)
|
ผู้ที่ทำสัญญากับสำนักข่าวต่างประเทศและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับหาข่าวและสื่อข่าว
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน
|
7. ผู้เชี่ยวชาญ
(Highly Skilled Professional) |
ผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง ประเภท 1
7.1 กิจกรรมการศึกษาวิจัยทางวิชาการระดับแนวหน้า
ผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่น ในการทำหน้าที่ศึกษาวิจัย ให้คำแนะนำหรือฝึกสอนเกี่ยวกับการวิจัย
7.2 กิจกรรมใช้ความชำนาญเฉพาะด้านหรือเทคนิคระดับสูงผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่นในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
7.3 กิจกรรมด้านการบริหารระดับสูงผู้ที่ทำสัญญากับหน่วยงานเอกชนในญี่ปุ่นเพื่อทำการบริหารธุรกิจหรือควบคุมกิจการ
* การพิจารณาประกอบด้วย ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน รายรับต่อปี ฯลฯ โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์ 70 คะแนนขึ้นไป จะได้รับการรับรองว่าเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง
* ได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆ เช่น สามารถดำเนินกิจกรรมได้มากกว่าหนึ่งประเภท
|
5 ปี
|
ผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูง ประเภท 2
ผู้ทีประกอบกิจกรรมผู้ชำนาญเฉพาะด้านระดับสูงประเภท 1 และพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกิน 3 ปีขึ้นไป และทำประโยขน์ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นตามที่ประกาศในกฎกระทรวงยุติธรรมประเทศญี่ปุ่น
|
ไม่มีกำหนด
|
|
8. นักลงทุน/ผู้บริหาร(Management)
|
ดำเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศหรือบริหารธุรกิจอื่นๆ ในประเทศญี่ปุ่น หรือดำเนินกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
9. นักกฎหมาย/ นักบัญชี (Legal/Accounting Service)
|
ผู้ดำเนินกิจกรรมเป็นนักกฎหมายของสำนักงานกฎหมายของต่างประเทศหรือผู้ตรวจสอบบัญชีของสำนักงานบัญชีของต่างประเทศ ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้มีใบประกาศรับรอง
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
10. ผู้ให้บริการทางการแพทย์
(Medical Services)
|
ผู้ที่มีใบประกอบอาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ หรือวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
11. นักวิจัย
(Researcher) |
ผู้ที่ทำสัญญากับองค์กรภาครัฐหรือเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมด้านการค้นคว้าวิจัย
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
12. ครู/ผู้สอน
(Instructor) |
กิจกรรมการศึกษาในโรงเรียนประถม มัธยมต้น/ปลาย โรงเรียนฝึกวิชาชีพ หรือสถานศึกษาที่เทียบเท่าโรงเรียน เช่น โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น และสถานศึกษาอื่นๆ
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
13. วิศวกร/
ผู้เชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และกิจการต่างประเทศ (Specialist in Technologies/ Humanities/ International Services) |
ผู้ที่ทำสัญญากับภาคเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้ด้านวิศวกร วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หรือมนุษยศาสตร์ เช่น กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ หรือการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานหรือความรู้สึกนึกคิดเชิงวัฒนธรรมของต่างประเทศ
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
14. ผู้ทำงานกับบริษัทสาขาในต่างประเทศ
(Intra-company transferee) |
กิจกรรมด้านวิศวกร มนุษยศาสตร์ งานด้านต่างประเทศที่เป็นการโอนย้ายพนักงานจากบริษัทลูกในต่างประเทศมาทำงานบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
15. นักแสดง
(Entertainer) |
กิจกรรมด้านศิลปะ เช่น การแสดงละคร นาฏศิลป์ ดนตรี กีฬาหรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้ความบันเทิง
|
3 ปี, 1 ปี,
6 เดือน 3 เดือน
หรือ 15 วัน
|
16. แรงงานฝีมือ
(Skilled Labour) |
ผู้ที่ทำสัญญากับภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นในการดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้เทคนิคและความชำนาญพิเศษด้านช่างเฉพาะด้านในอุตสาหกรรมนั้น
|
5 ปี, 3 ปี, 1 ปี หรือ 3 เดือน |
17. ผู้ฝึกงานด้านเทคนิค
(Technical Intern
Training)
|
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 (ปีที่ 1)
ผู้ฝึกงานที่มีวัตถุประสงค์ทำการฝึกฝนด้านทักษะฝีมือ เทคนิค ความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดภายใต้เงื่อนไขการจ้างงาน
|
1 ปี หรือ 6 เดือน
|
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 2 (ปีที่ 2)
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 ที่ได้ฝึกฝนด้านเทคนิคและต้องการทำงานเพื่อฝึกฝนให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขการจ้างงาน
|
ไม่เกิน 1 ปี ตามคำสั่งรมว.กระทรวงยุติธรรม
|
|
*ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคประเภท 1 และ 2 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามการรับผู้ฝึกงาน
(ก) บริษัทลูกที่ไปลงทุนในต่างประเทศจัดส่งพนักงาน มาทำงานกับบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่น หรือเรียกว่าบริษัทแม่เป็นผู้รับผู้ฝึกงาน (Individual Enterprise Type)
(ข) องค์กรขนาดกลางและเล็กดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและควบคุมการฝึกงานในสถานประกอบการเอกชนที่รับผู้ฝึกงานไปทำงาน หรือเรียกว่า องค์กรรับเป็นผู้รับผู้ฝึกงาน (Supervising Organization Type)
|
||
18.แรงงานทักษะเฉพาะทาง
(Specified Skilled Worker)
|
|
ระยะเวลาสูงสุด 5 ปี/1 ปี/6 เดือน/4 เดือน
|
|
ระยะเวลา 3 ปี/1 ปี/6 เดือน สามารถต่ออายุทำงานได้ต่อเนื่อง
|
ขอบคุณแหล่งที่มาและศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
https://japan.mol.go.th/working_abroad/issuance-of-work-permit
7. รู้ตัวเอง
เตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องมาอยู่และใช้ชีวิตในต่างประเทศ ทั้งสภาพอากาศ อาหารการกิน และสภาพจิตใจก็ต้องพร้อมรับมือกับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาให้เผชิญเช่นกัน
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ตอบคำถามตัวเองให้ได้เสียก่อนว่า เพราะเหตุใดถึงต้องการมาทำงานที่ญี่ปุ่น และเป้าหมายของตัวเองที่วางไว้ คืออะไร หากคำตอบ ยังยืนหนึ่ง ไม่มีอะไรให้ลังเล การมาทำงานในญี่ปุ่นก็ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน
สุดท้ายนี้ฝากไว้
ก่อนมาทำงานที่ญี่ปุ่น แนะนำให้ศึกษาข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ให้ดีเสียก่อน สามารถหาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานแรงงานในญี่ปุ่น เป็นภาษาไทยได้แล้วที่
https://japan.mol.go.th/working_abroad/labor-law
Leave a Reply